
ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับเด็กหรือไม่
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ให้ข้อมูลขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียน และอนุมัติให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ ฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้ กรมควบคุมโรคพร้อมให้การสนับสนุนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มนักเรียนตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและนโยบายของรัฐบาล วัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยขณะนี้ ทุกตัวผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลกและขึ้นทะเบียนรับรองจาก อย. จึงขอให้ผู้ปกครองนักเรียน ทุกคนมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยได้ กระทรวงสาธารณสุขจะทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการตามนโยบายการฉีดวัคซีนให้เด็กถ้วนหน้าให้ดีที่สุด ยึดประโยชน์ของผู้ปกครองและประชาชนไทยทุกคนเป็นสำคัญ
การฉีดวัคซีนสลับควรทำหรือไม่
กระทรวงสาธารณสุข ใช้สูตรวัคซีนไขว้ “ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า” เป็นสูตรหลักฉีดให้ประชาชนทั่วไป และกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากสร้างภูมิคุ้มกันสูงภายใน 5 สัปดาห์ และต้านเชื้อเดลต้าได้ มีความปลอดภัย สำหรับการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ห่างกัน 3 สัปดาห์ จากการศึกษาภูมิคุ้มกันต่อการยับยั้งเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าพบว่า มีระดับภูมิคุ้มกันสูง 78.65 สูงระดับเดียวกันกับแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มที่ได้ภูมิคุ้มกัน 76.52 ส่วนการฉีดซิโนแวค 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าเซนเนก้าให้บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนพบว่าภูมิคุ้มกันสูงถึง 271.17 ซึ่งแอสตร้าเซนเนก้าจะเร่งส่งมอบวัคซีนให้ครบ 61 ล้านโดส ภายในปีนี้ ไทยจึงนำเข้าซิโนแวคอีก 12 ล้านโดส เพื่อนำมาฉีดไขว้เป็นสูตรไขว้ มีระยะห่างระหว่างเข็ม 3 สัปดาห์ และใช้เวลาอีก 2 สัปดาห์ จะมีภูมิคุ้มกันระดับสูงที่ต้านเชื้อเดลต้าได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงปรับมาฉีดสูตรนี้ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในเวลาอันรวดเร็ว โดยจากการฉีดที่ผ่านมาพบอาการไม่พึงประสงค์ ไม่แตกต่างจากการฉีดวัคซีนตัวอื่น
ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข อ่านเพิ่มเติม
ผลวิจัยการฉีดวัคซีนสลับของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช อ่านเพิ่มเติม
Universal Prevention : วิธีป้องกันการติดเชื้อโควิดขั้นสูงสุด (แบบครอบจักรวาล) คืออะไร
กระทรวงสาธารณสุข สนอแนวคิด Universal Prevention เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด มีหลักปฏิบัติ 10 ข้อ
- ออกจากบ้านเมื่อจำเป็น
- เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร
- สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าตลอดเวลา
- ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
- อย่าใช้มือสัมผัสหน้ากาก รวมทั้งใบหน้า ตา จมูก ปาก
- ผู้เป็นกลุ่มเสี่ยง หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ
- แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
- กินอาหารปรุงสุกใหม่ แยกสำรับ ใช้ช้อนกลางส่วนตัว
- หากสงสัยว่าตนเองเสี่ยงตรวจด้วย ATK บ่อยๆ เพื่อยืนยันว่าติดเชื้อหรือไม่
กลุ่มที่ควรได้รับการตรวจโควิด 19 คือใครบ้าง?
1. ผู้สัมผัส ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง และมีอาการ ควรตรวจด้วย RT -PCR ที่โรงพยาบาล
2. หากมีอาการ และไม่มีประวัติสัมผัสหรือเสี่ยงสูง ใช้ชุดตรวจ ATK
3. ผู้สัมผัส แต่ไม่มีอาการ ใช้ชุดตรวจ ATK
4. กลุ่ม 608 ในพื้นที่เสี่ยง ใช้ชุดตรวจ ATK
- ผู้ที่ไม่มีอาการ ควรตรวจซ้ำทุก 7 วัน แต่หากมีอาการ ควรตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ทันที
- กลุ่มที่มีอาการ ควรตรวจซ้ำ ภายใน 3-5 วัน